1. ข้อใดไม่แสดงการเปลี่ยนแปลงของภาษา1) ทางเท้า อาจใช้ทับศัพท์ว่าฟุตบาท หรือใช้ศัพท์บัญญัติว่า บาทวิถี 2) จึ่ง เป็นคำที่แผลงมาจาก จึง มีความหมายเหมือนกันมักใช้ในคำประพันธ์ 3) ดี ในข้อความว่า คนดี ทำดี ดีแตก ถือเป็นคำเดียวกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน 4) ถ้า และ หาก เมื่อนำมาซ้อนกันเป็นถ้าหาก จะใช้เป็นคำเชื่อมบอกเงื่อนไขเช่นเดียวกับถ้า และ หาก
|
2. ข้อใดใช้คำผิดหน้าที่1) วรรณกรรมร้อยแก้วของไทยเริ่มมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว 2) มาตรการการลงโทษผ็กระทำผิดระเบียบที่บริษัทกำหนดไว้รุนแรงมาก 3) บริษัทของเราจัดให้พนักงานได้นันทนาการในวันขึ้นปีใหม่ 4) เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยไม่มีอำนาจตัดสินเรื่องนี้โดยพลการ
|
3. ข้อใดมีคำตายน้อยที่สุด1) ทั้งไพร่นายรายเรียงกันเรียดไป ตัดใบไม้มุงเหมือนหลังคาบัง 2) พระเปรมปรีดิ์ดีใจอยู่ในพักตร์ มิให้ประจักษ์คนทั้งหลาย 3) คำโบราณท่าผูกถูกทุกสิ่ง เขาว่าลิงจองหองมันพองขน 4) เสพอาหารหวานคาวเมื่อคราวยาก ล้วนของฝากเฟื่องฟูค่อยชูชื่น
|
4. ข้อใดใช้คำถูกต้องตรงความหมาย1) เขารีบไปจับจองที่นั่งดูคอนเสิร์ตตั้งแต่เช้า 2) มนตรีกำลังคิดค้นหาทางแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรในบริษัท 3) ตำรวจจับผู้ร้ายที่ชิงสร้อยได้เพราะผู้ร้ายไปจนตรอกที่บันไดหนีไฟ 4) ดาราที่มางานวันเกิดของคุณป้าดูท่าไว้ตัว ไม่ยอมพูดจากับใครเลย
|
5. ข้อใดมีคำซ้อน1) มาอยู่ในป่าเปลี่ยวเที่ยวซังตาย จะหมายพิงอิงใครก็ไม่มี 2) อนิจจาทุกข์ยากลำบากตัว เกลือกกลั้วปฤพีธุลีลม 3) สุริยนเย็นสนธยาค่ำ ประทับลำเรือเรียงเคียงขนาน 4) จนไก่เถื่อนเดือนขันสนั่นแจ้ว ดุเหว่าแว่วหวาดหมายว่าสายสมร
|
ต้องการเฉลยข้อสอบ โปรดเข้าระบบสมาชิก
|
|