วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจ
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 21 ข้อขึ้นไป
แบบทดสอบนี้ มีจำนวนข้อสอบ
42
ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อ ให้เลือก เพิ่มจำนวนข้อเป็น
20 ข้อ
30 ข้อ
50 ข้อ
1. กรณีที่เครื่องวิทยุรับส่ง (Transceiver) มีกำลังส่งต่ำกว่า 1000 W พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงสามารถใช้เครื่องขยายกำลังส่งภายนอก (external RF power amplifier) ได้หรือไม่
ไม่ได้ ต้องใช้กำลงตามคุณสมบัติเครื่องเท่านั้น
ได้ แต่ต้องใช้ออกอากาศ เฉพาะใน Club station เท่านั้น
ไม่ได้ ทุกกรณี
ใช้ได้ โดยเครื่องขยายกำลังส่งภายนอกที่ผ่านการตรวจยืนยันลักษณะทางเทคนิคตามที่ กสทช.กำหนด
2. ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ในกรณีพิเศษเพื่อการใช้งานชั่วคราว สามารถกำหนดให้กลุ่มอักษรตามมีความยาวเกินกว่า 4ตัวอักษรได้
ถูกทุกข้อ
3. ข้อใดคือคำจำกัดความของโทรมาตร (telemetry)
การส่งสัญญาณแบบทางเดียวที่มีข้อมูลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือวัดค่าจากสถานีปลายทาง
การส่งสัญญาณแบบสองทางด้วยวิทยุโทรศัพท์ที่อยู่ไกลเกินกว่า 500 เมตร
การส่งสัญญาณข้อมูลแบบสองทางด้วยช่องความถี่เดียว
การส่งสัญญาณแบบทางเดียวที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ปลายทาง
4. ในกรณีที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นเคยถูกลงโทษกรณีนำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตมาแล้ว ต่อมาได้กระทำผิดกรณีทำซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก จะถูกพิจารณาโทษ
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 3 เดือน
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการชั่วคราว เป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี
ให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นการถาวร และถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 แล้วแต่กรณี
5. ถ้าช่วงความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นถูกกำหนดให้เป็นกิจการหลักร่วมกัน ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการใช้งานที่เหมาะสมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องสนใจสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ และต้องไม่รบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
พนักงานวิทยุสมัครเล่นไม่สามารถใช้ได้ เพราะจะไปรบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
หากได้รับการรบกวนจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน พนักงานวิทยุสมัครเล่นควรเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้น
6. พนักงานวิทยุสมัครเล่นในข้อใดที่ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ขยายกำลังส่งภายนอก (external RF power amplifier) ได้
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้น
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลาง
พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
ถูกทั้งข้อ ข. และข้อ ค.
7. ถ้าในตารางกำหนดคลื่นความถี่ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก ประเทศไทยโดยหน่วยงานกำกับดูแลสามารถกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการรองหรือไม่กำหนดให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในความถี่นั้นได้หรือไม่
ไม่ได้ เพราะประเทศไทยต้องกำหนดตารางกำหนดคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามตารางกำหนดคลื่นความถี่ของข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
ได้ เพราะการบริหารจัดการและการกำกับดูแลเป็นเอกสิทธิของแต่ละประเทศ สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม
ไม่ได้ เพราะกิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นสากล ต้องเหมือนกันในทุกประเทศ
ผิดทุกข้อ
8. เมื่อได้รับใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงแล้ว จำเป็นต้องต่อใบอนุญาตพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นกลางและขั้นต้นหรือไม่
ไม่จำเป็น เพราะสิทธิการใช้งานความถี่และกำลังส่งครอบคลุมของขั้นกลางและขั้นต้นแล้ว
จำเป็น เพราะเป็นการอนุญาตที่แยกจากกัน
จำเป็น เพราะพนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องมีใบอนุญาตให้ครบทุกระดับขั้น
ผิดทุกข้อ
9. พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการพิจารณาโทษโดยการให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ในกรณีใด
มี หรือ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
ไม่มีข้อใดถูก
10. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ประเทศไทยมีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
สหรัฐอเมริกา เยอรมัน จีน
สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี
ญี่ปุ่น ออสเตรีย สวีเดน
สวิสเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม
11. พนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ต้องมีสถานะเป็นสมาชิกของสมาคมที่ได้รับการรับรองจาก กสทช.หรือไม่
ไม่ต้องเป็นสมาชิกสมาคม เพราะพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูงได้รับการยกเว้น
ไม่ต้องเป็นสมาชิกสมาคม เพราะอยู่ที่ความสมัครใจ
ไม่ต้องเป็นสมาชิกสมาคม เพราะประกาศ กสทช. ไม่ครอบคลุม
ต้องเป็นสมาชิกสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กสทช.
12. พนักงานวิทยุสมัครเล่นต้องทำอย่างไร เมื่อได้รับการติดต่อจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดเป็นกิจการหลัก ว่าสัญญาณของพนักงานวิทยุสมัครเล่นนั้นไปรบกวน
เพิกเฉย ไม่สนใจ การแจ้งจากสถานีดังกล่าว
สอบถามรายละเอียดการรบกวน แล้วใช้งานความถี่ต่อได้ตามปกติ
สอบถามรายละเอียดการรบกวน ข้อมูลติดต่อประสานงานเพิ่มเติม และหยุดการใช้งานในทันที
ลดกำลังส่งให้ต่ำลง แล้วใช้งานต่อไปได้ตามปกติ
13. ข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่นที่ประเทศไทยมีข้อตกลงร่วมจนถึงปี พ.ศ. 2558 มีทั้งหมดกี่ประเทศ
8 ประเทศ
9 ประเทศ
10 ประเทศ
11 ประเทศ
14. ข้อใดคือกำลังส่งสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในย่าน 2200 เมตร สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
1 วัตต์ (e.i.r.p.)
100 วัตต์
200 วัตต์
1000 วัตต์
15. ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 2 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 3 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 5 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
16. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึง The International Amateur Radio Permit (IARP) ได้ถูกต้องที่สุด
กลุ่มประเทศยุโรปที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
กลุ่มประเทศยุโรปที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะ
กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะ
17. การพิจารณาโทษในกรณีใด กสทช. มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาโทษได้
ใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคล
ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
การรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมาย
จงใจกระทำให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุคมนาคมอื่น
18. ข้อใดคือกำลังส่งสูงสุดที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานในย่าน HF สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง
200 วัตต์
500 วัตต์
1000 วัตต์
1500 วัตต์
19. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงใบอนุญาตที่ออกโดย Conference of European Postal and TelecommunicationsAdministrations (CEPT) ได้ถูกต้องที่สุด
กลุ่มประเทศยุโรปที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
กลุ่มประเทศยุโรปที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะ
กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
กลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ที่พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศสามารถใช้งานได้โดยต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะ
20. เมื่อใช้งานเครื่องวิทยุในโหมดเสียงพูด หน้าจอแสดงผลของเครื่องวิทยุใดต่อไปนี้ที่แสดงถึงความถี่ต่ำสุดที่สามารถใช้งานได้ในโหมด LSB ที่ทำให้สัญญาณที่ส่งนั้นอยู่ในช่วงคลื่นความถี่ (band) นั้นพอดี
แสดงความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge) นั้นพอดี
แสดงความถี่ 300 Hz เหนือกว่าความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge)
แสดงความถี่ 1 kHz เหนือกว่าความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge)
แสดงความถี่ 3 kHz เหนือกว่าความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge)
21. หากหน้าจอเครื่องวิทยุแสดงความถี่ของสัญญาณเสียงพูดที่ 14.349 MHz ในโหมด USB และเราได้ยินสถานี DX เริ่มเรียก CQ ที่ความถี่ 14.349 MHz USB เราจะสามารถตอบกลับการเรียกนั้นด้วยโหมด USB ที่ความถี่เดียวกันนั้นได้หรือไม่
ได้ เพราะสถานี DX เป็นผู้เริ่มการติดต่อสื่อสารนั้น
ได้ เพราะความถี่หน้าจอเครื่องวิทยุแสดงความถี่อยู่ในย่าน 20 เมตร
ไม่ได้ เพราะแถบความถี่ที่เราตอบกลับจะเกินกว่าขอบย่านความถี่ 20 เมตร
ไม่ได้ เพราะประเทศไทยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานโหมดเสียงพูดที่ความถี่เกินกว่า 14.340 MHz
22. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงกิจการหลัก และกิจการรองได้ถูกต้องที่สุด
สถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก คือสถานีที่ไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการรอง
สถานีที่จัดเป็นกิจการรอง คือสถานีที่ได้รับสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
สถานีที่จัดเป็นกิจการรอง ไม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
สถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก ไม่สามารถร้องเรียนขอสิทธิการคุ้มครองการรบกวนจากสถานีที่จัดเป็นกิจการหลัก
23. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากประเทศที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทยที่มีความประสงค์จะมาใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถนำเครื่องวิทยุมาจากต่างประเทศ เพื่อใช้งานในประเทศไทยได้ทันที
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถใช้งานความถี่ได้เท่ากับที่ได้รับอนุญาตในประเทศของตนเอง เมื่อใช้งานในประเทศไทย
พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศที่มีความประสงค์จะใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศไทย โดยการยื่นขอเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น
ไม่มีข้อใดถูก
24. ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 2 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 3 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 5 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
25. ความถี่ใดต่อไปนี้ในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการรอง
1.825 ? 2.000 MHz
430 ? 440 MHz
1240 ? 1300 MHz
ถูกทุกข้อ
26. ความถี่ใดต่อไปนี้ในตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก
50 ? 54 MHz
2300 ? 2450 MHz
3300 ? 3500 MHz
24 ? 24.05 GHz
27. กิจการวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมหมายถึงข้อใด
กิจการวิทยุนำทางที่ใช้ดาวเทียมเพื่อการฝึกฝนตนเองในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และการทดสอบทางเทคนิคโดยพนักงานวิทยุสมัครเล่น
กิจการที่ให้บริการจัดส่งดาวเทียมที่สร้างโดยพนักงานวิทยุสมัครเล่น
กิจการวิทยุคมนาคมที่ใช้สถานีอวกาศบนดาวเทียมเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
กิจการวิทยุคมนาคมที่ใช้สถานีภาคพื้นดินเพื่อการกระจายเสียง
28. ประเทศใดต่อไปนี้ที่ประเทศไทยไม่มีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับกิจการวิทยุสมัครเล่น
เยอรมัน
สหราชอาณาจักร
ออสเตรีย
ออสเตรเลีย
29. การกระทำของพนักงานวิทยุสมัครเล่นในข้อใดไม่อยู่ในโทษให้ได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
ใช้ถ้อยคำหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร
ติดต่อกับสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่รับอนุญาต
ไม่บันทึกการติดต่อสื่อสารในสมุดบันทึก (log book) ประจำสถานีวิทยุคมนาคม
แย่งใช้ช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสาร หรือใช้ช่องสัญญาณในลักษณะยึดถือครอบครองเฉพาะกลุ่มบุคคลการส่งสัญญาณ
30. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงการแพร่คลื่นความถี่แปลกปลอม (spurious)
สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ส่งสัญญาณโดยไม่ระบุสัญญาณเรียกขาน
สัญญาณที่ถูกส่งออกมาเพื่อป้องกันการดักรับสัญญาณจากสถานีที่ไม่ต้องการให้รับสัญญาณนั้น
สัญญาณแปลกปลอมใดๆ ที่ถูกส่งออกมาแล้วไปรบกวนสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่ได้รับอนุญาต
สัญญาณที่แผ่เกินออกจากแถบความถี่ที่ใช้งาน (necessary bandwidth) ซึ่งสามารถที่จะลดหรือ ตัดออกไปได้โดยไม่กระทบกับข้อมูลที่ต้องการส่ง
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ
1.
แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1
2.
แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน
3.
แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ป.5
4.
แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล
EDUCATION RESEARCH
|
Test Home
Version Thaitestonline.com |
Mobile
เพื่อนบ้าน
เว็บครูออฟ