สอบเข้ามหาวิทยาลัย ภาษาไทย(2546) ชุดที่5
หน้าแรก
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป
กรอกชื่อจริง
กรอกนามสกุล
ทุกครั้งที่เข้าทำแบบทดสอบเสร็จสมบูรณ์ จะได้รับแต้มเข้าใช้งาน 1 แต้ม | ส่วนนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเพื่อออกใบรับรอง หากทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
แบบทดสอบนี้ มีจำนวนข้อสอบ 20 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อ ให้เลือก เพิ่มจำนวนข้อเป็น 20 ข้อ 30 ข้อ 50 ข้อ
1. ข้อใดเป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับหลักเหตุผล
    อนึ่งวิชาอาคมถมถนำ เวลาค่ำควรคิดเป็นนิจศีล
    อนึ่งไปไหนได้พบอสกซาก อย่าออกปากทักทายร้ายนักหนา
    อนึ่งเขฬะอย่าถ่มเมื่อลมพัด ไปถูกสัตว์เสื่อมมนตร์ดลคาถา
    อนึ่งอย่าไปใต้ช่องคลองตะพาน อย่าลอดร้านฟักแฟงแรงราคี
2. ข้อใดสอดคล้องกับสัจธรรมที่ปรากฎในคำประพันธ์ต่อไปนี้มากที่สุด “ภาษิตแต่เก่าก่อนท่านสอนชี้ ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหนปนกันอยู่ถูกแล้วผิดพลาดหลงจงตรองดู มืดแล้วแจ้งมีอยู่เป็นคู่กัน”
    เกิดมามนุษย์ปุถุชน ความทุกข์มิได้พ้นจนสักหน้า
    อันกำเนิดเกิดมาในหล้าโลก สุขกับโศกมิได้สิ้นอย่าสงสัย
    อันบ่วงกรรมทำไว้ในปางหลัง เป็นพืชยังปางนี้ให้มีผล
    อนัตตาใช่ว่าของแท้ คงก็แต่บาปบุญเจ้าคุณเอ๋ย
3. ข้อใดสะท้อนความรู้สึกของผู้แต่งคำประพันธ์ต่อไปนี้ได้ตรงที่สุด“เมื่อเมือคนคั่งคักด้วยคนป่า คนดีก็ด้อยคำเหมือนกรวดหินเหมือนสัตว์ป่าสร้างป่าไว้หากิน สัตว์เมืองก็ต้องสิ้นวิสัยเมือง”
    โกรธแค้น
    สมเพช
    ท้อแท้
    อนาถใจ
4. ข้อใดไม่ปรากฏในคำประพันธ์ต่อไปนี้ “หยิบสีรุ้งทั้งเจ็ดสายระบายฝัน หยิบพู่กันหัวใจละเอียดอ่อนเขียนความรักศรัทธาห่วงอาทร ให้โลกร้อนเย็นฉ่ำด้วยน้ำใจ”
    ความมีน้ำใจไมตรี
    ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
    ความเลื่อมใสศรัทธา
    ความชื่นชมในธรรมชาติ
5. ข้อใดมีเนื้อความที่ให้กำลังใจชัดเจนที่สุด
    เริ่มต้นสร้างทางดีให้กับชีวิต จักพิชิตความทุกข์สบสุขสันต์
    ไม่มีแล้วแสงใดในแสงดาว จะสกาวเท่าแสงแห่งเยาวชน
    หากชีวิตนี้คงดำรงอยู่ ต้องต่อสู้ฟันฝ่าอย่ากำสรวล
    หยาดน้ำใจได้รับยามอับจน จึงคำล้นฝนมณีทุกสีไป
6. ข้อใดเป็นสารสำคัญของคำประพันธ์ต่อไปนี้ “เปรมปรีดิ์ที่ไผ่ฟ้อน ลมดงปลิวลิ่วใบลอยลง ต่อหน้าไตรลักษณ์นั่นคือมง- คลคู่ คิดนามองทั่วถึงพึงกล้า แจ่มจ้าพุทธธรรม”
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นมงคลชีวิต
    ธรรมชาติแสดงให้เห็นสัจธรรมในพระพุทธศาสนา
    ใบไผ่ที่ร่วงหล่นแสดงให้เห็นความเป็นอนิจจัง
    ผู้เห็นไตรลักษณ์คือผู้มีความสุขตามธรรมชาติ
7. สารในข้อใดไม่เป็นคติในการเลือกคบคน
    สกุลหงส์พงศ์ประยูรสกุลสูง อย่าฝ่าฝูงกาพาลหวานปนขมสกุลกาพาอับให้กลับจม อย่านิยมยินดีจะมีคาว
    อันคนดีมีศีลสัตย์สันทัดเที่ยง ช่วยชุบเลี้ยงชูเชิดให้เฉิดฉายเอาไว้ใช้ใกล้ชิดไม่คิดร้าย เขารักตายด้วยได้ด้วยใจตรง
    สตรีหึงหนึ่งแพศยาหญิง

8. คำประพันธ์ต่อไปนี้กล่าวถึงศิลปะของคนไทยในด้านใด “แสงโสมแสงแก้วส่อง สุริยฉายอร่ามรัตนกุณฑลพราย พร่างฟ้าอุณหิสวิจิตรราย ปัทมราช แลฤาเจ็ดอุรุดเรียบหน้า ผกเกล้าเกลื่อนหงอน”
    การแต่งกาย
    การวาดภาพ
    การแกะสลัก
    การก่อสร้าง
9. ข้อใดแสดงอารมณ์ต่างจากข้ออื่น
    สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสายสายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
    สายหยุดพุทธชาด บานเกลื่อนกลาดดาษดาไปนึกน้องกรองมาลัย วางให้พี่ข้างที่นอน
    สายหยุดหยุดกลิ่นอาย ฤาหายหอมจอมเสน่หาสามวันจากกานดา ทิ้งวิญญาณไว้ให้นาง
    สายหยุดหยุดเสน่หา แก้วกานดามาห่างหายร้อยเล่ห์เพทุบาย ตราบชีพวายไม่หวนคืน
10. ข้อใดแสดงแนวคิดต่างจากข้ออื่น
    ชาติตะปูชาติแข็งต้องแทงตรึง ชาติขี้ผึ้งชาติอ่อนร้อนละลาย
    แต่ไม้ไผ่อันหนึ่งตันอันหนึ่งแขวะ สีแหยะแหยะตอกตะบันเป็นควันฉิว
    อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ไปมาผลักบ่อยเข้าเสายังไหว
    เรียงอิฐติดแน่นแผ่นละครั้ง ยังเป็นวังใหญ่เยี่ยมเทียมสิงขร
11. ข้อใดมีความสอดคล้องกับแนวคิดของคำประพัน์ต่อไปนี้ “มล้างเกลศเลศคล้ำในน้ำใจ ให้ผ่องใสสิ้นขุ่นจึงบุญแรง”
    จิตใจมิหมองหม่น สุขะดลนิรันดร์กาล
    กอบกรรมะอันไร้ ทุษะกลั้วและมัวมล
    เพียรเผากิเลสล้าง มละโทษะยายี
    ไร้โศกธุลีสูญ และสบายบ่มัวมล
12. ข้อใดมีน้ำเสียงต่างจากข้ออื่น
    จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาวจากรวงเป็นเม็ดพราว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
    สองมือเฮามีแฮง เสียงเฮาแย้งมีคนยินสงสารอีศานสิ้น อย่าซุด, สู้ด้วยสองแขน
    โซ่ประตูตรึงผูกถูกกระชาก เสียงแห่งความทุกข์ยากก็ยิ่งใหญ่สว่างวาบแปลบพร่ามาไรไร ก็รู้ได้ว่าทางยังพอมี
    ลมประสานเสียงแคนว่าแค่นแค้น เปิปข้าวทุกคราวแค่นความขื่นขมเหงื่อภูรินตากูแล้งน้ำแห้งตรม แม้ทุกข์ถมจักหยัดยืนคืนค่าคน
13. ข้อความต่อไปนี้ให้ข้อคิดในเรื่องใดชัดเจนที่สุด“สังเวชวัดธารมาที่อาศัย
    แสนวิตกมาตามแควกระแสสาย”
    2
    เงินทองทำให้เกิดทุกข์
    เงินทองซื้อความสุขไม่ได้
14. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายของกวีตามคำประพันธ์ต่อไปนี้ “และใจเจ้าจักเป็นเช่นสายน้ำ ใสเย็นฉ่ำชื่นแล้วไหลแผ่วผ่านเพื่อเลี้ยงชีพชโลมไล้ให้เบิกบาน เพียงพ้องพานผิวแผ่วแล้วผ่านเลย”
    เสนอแนวคิดในการทำจิตใจให้สงบเย็น
    เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ
    เสนอแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติที่เป็นคุณต่อมนุษย์
    เสนอแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนตลอดเวลา
15. ข้อใดไม่สะท้อนความคิดทางพระพุทธศาสนา
    แม้นกลับชาติเกิดใหม่เป็นกายคน ชื่อว่าจนแล้วจงจากกำจัดไกล
    เคยสร้างบาปเร่งทำบุญมาลบล้าง กุศลสร้างมาช่วยอำนวยผล
    ฉันเกิดมาชาตินี้ก็มีกรรม แสนระยำยุบยับด้วยอับจน
    ใครปองร้ายก็อย่าร้ายสนองตอบ ใครคิดชอบก็ควรรักสมัครสมาน
16. ข้อใดเป็นสาเหตุให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิพนธ์เรื่องพระครูวัดฉลอง
    “เกียรติคุณของท่านพระครูวัดฉลองแพร่หลาย จนนับถือกันไปทั่วหัวเมืองทางทะเลตะวันตก”
    “การที่คนปิดทองท่านพระครูวัดฉลอง เป็นแรกที่จะเกิดประเพณีปิดทองคนเป็นๆ”
    “ที่ชาวฉลองรบชนะพวกจีน เพราะท่านพระครูวัดฉลองมีอิทธิฤทธิ์ในทางวิทยาคม ก็นับถือกันเป็นอย่างผู้วิเศษทั่วทั้งจังหวัด”
    “พิเคราะห์ตามเรื่องประวัติ เห็นควรนับว่าพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (แซ่ม) วัดฉลองเป็นอัจฉริยบุคคลได้คนหนึ่ง”
17. ข้อใดไม่แสดงคุณธรรม
    คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน
    ขุนสามชนขับม้าหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้าไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพ่ายจแจ๋ (น)
    กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวานอันใดกินอร่อยดี กูเอามาแก่พ่อกู
    พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กูดังกูบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตายจึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม
18. ข้อใดไม่สอดคล้องกับเนื้อหาในคำประพันธ์ต่อไปนี้ “คำยอยกย่องเที้ยร
    1
    นี่หรือรักจะมิน่าเป็นราคิน
    แต่ชื่อดินเจียวยังกลายเป็นหลายคำ
    อันมนุษย์หาสุดแก่ใครไม่ มันกลับกลอกนอกในเป็นหนักหนา
19. ข้อใดกล่าวถึงความกรุณาในแง่มุมที่ต่างจากข้ออื่น
    แต่การุณยธรรมสุนทร งามงอนกว่าพระแสงอันแรงฤทธิ์
    หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน
    ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์ เรืองจรัสยิ่งมกุฎสุดสง่า
    พระกรุณายิ่งกว่าหมาฉัตร รุจิรัตน์เรืองรองผ่องพิศาล
20. ข้อใดสะท้อนทรรศนะของผู้พูดข้อความต่อไปนี้“แม้นว่าระดูจรกา งามเหมือนวิหยาสะกำนี้จะมิได้ร้อนรนด้วยปนศักดิ์ น่ารักรูปทรงส่งศรี”
    ไม่ถือเรื่องชั้นวรรณะ
    ไม่ถือเรื่องยศศักดิ์
    รูปสมบัติสำคัญกว่าฐานะ
    รูปสมบัติแสดงให้เห็นคุณความดีของคน
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ป.5


4. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


หน้าแรก

EDUCATION RESEARCH | Test Home
Version Thaitestonline.com | Mobile
เพื่อนบ้านเว็บครูออฟ