สอบเข้ามหาวิทยาลัย ภาษาไทย(2546) ชุดที่4
หน้าแรก
คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป
กรอกชื่อจริง
กรอกนามสกุล
ทุกครั้งที่เข้าทำแบบทดสอบเสร็จสมบูรณ์ จะได้รับแต้มเข้าใช้งาน 1 แต้ม | ส่วนนี้จะทำการบันทึกข้อมูลเพื่อออกใบรับรอง หากทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
แบบทดสอบนี้ มีจำนวนข้อสอบ 20 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อ ให้เลือก เพิ่มจำนวนข้อเป็น 20 ข้อ 30 ข้อ 50 ข้อ
1. ข้อใดใช้กลวิธีการแต่งต่างจากข้ออื่น
    เปรียบแรงคชสารปานกลจักร ผาผลักชักลากราวหยากไย่
    ใหญ่เทียบภูผาท่าดุดัน เรี่ยวแรงแข็งขยันเชื่อควาญตน
    งางอนอ่อนช้อยทุกรอบกลึง ดูประหนึ่งกรกรายนางร่ายรำ
    เหมือนมีชีวิตสถิตร่าง ซุงแกะเป็นช้างย่างบาทได้
2. ข้อใดใช้ภาพพจน์มากที่สุด
    ไร้ฟูกถูกเนื้อวันทองอ่อน
    เหมือนนอนเตียงทองอันผ่องใสเพลินฟังวังเวงเพลงเรไร พิณพาทย์ไพรกล่อมขับสำหรับดง
    บัดนี้เห็นท่วงทีกิริยาเจ้าก็เปลี่ยนแปลก เล่ห์ประหนึ่งพึ่งมาเป็นแขกไม่คุ้นเคยไฉนจึงแกล้งนั่งเฉยให้เหินห่างเหมือนผู้อื่นฉะนี้
    พันลึกล่มลั่นฟ้า เฉกอสุนีผ่าหล้าแหล่งเพี้ยงพกพัง แลนา
3. ข้อใดมีการใช้ภาพพจน์ต่างจากข้ออื่น
    คิดคะนึงถึงนงราม ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
    นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
    ดูปราสาทราชวังเป็นรังกา ดังป่าช้าพงชัฎสงัดคน
    โอ้น้ำใจในอุราทารกรรม เหมือนน้ำดำอยู่ในหนองเป็นฟองคราม
4. ข้อความต่อไปนี้เป็นการอ้างเหตุผลตามข้อใด “80 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยที่ผมพบเป็นคนเอื้อเฟื้อ ผมจึงเชื่อว่าในประเทศไทยมีคนไทยที่เอื้อเฟื้ออยู่ 80 เปอร์เซ็นต์”
    การอ้างเหตุผลแบบอุปนัย
    การอ้างเหตุผลแบบนิรนัย
    การอ้างเหตุผลโดยอาศัยสถิติ
    การอ้างเหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบ
5. ข้อใดเป็นอิทธิพลสำคัญที่กำหนดความคิดของนางวันทองในคำประพันธ์ต่อไปนี้“น้องกลัวสิ่งเดียวแลพ่อเจ้า จะขืนเอาส่งให้ขุนช้างใหม่ไม่ทนอายตายเสียยังเต็มใจ ว่าพลางสะอื้นให้อยู่ไปมา”
    ความรัก
    คุณธรรม
    ค่านิยม
    ประเพณี
6. ข้อใดนำไปเติมในช่องว่างได้อย่างถูกต้องตามฉันทลักษณ์และมีใจความเหมาะสมที่สุด วัย เยาว์ยังอ่อนหล้า โลกีย์รุ่น แรกดรุณดรุณี แน่งน้อยวัย พิสุทธิ์ห่างราคี ควรคิด ตรองนาเรียน ....... ........
    เราเพียรรู้ร้อย ศึกษ์สร้างสนองผล
    รีบเพียรค้อยค้อย ศึกษ์สร้างสฤษดิ์ผล
    เริ่มเพียรมิด้อย ศึกษ์ส่งสนองผล
    รอบเพียรรู้ถ้อย ศึกษ์ส่งสฤษดิ์ผล
7. ข้อใดมีแนวคิดต่างจากข้ออื่น
    ทุกเม็ดกรวด...ทราย...หินแผ่นดินไทย บรรพบุรุษมอบให้ใช้ร่วมกัน
    พัฒนาจะต้องเอื้อเพื่อคนจน ให้ทุกคนมีส่วนคิดตัดสินใจ
    ไม่มีหรอกอำนาจที่เป็นนิรันดร์ มวลประชาเท่านั้นมั่น...ยืนยง
    มีลาภ...ยศ...อำนาจ...ทระนง เป็นผู้ทรงสิทธิธรรมนำมวลชน
8. “ปัจจุบันภาษาไทยเราซบเซาลงไปมาก อันเนื่องมาแต่ความเห่อฝรั่ง ความจริงการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเราต้องติดต่อกับฝรั่ง และตำรับตำราวิชาการต่างๆ ก็เป็นภาษาฝรั่ง แต่การเรียนควรเป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรัก มิใช่เรียนเพื่อมาละเลิก หรือลืม ภาษาไทย คำฝรั่งคำใดที่มีความหมายตรงกับภาษาไทยเราก็ควรแปลมาเป็นไทย คำใดที่ไม่มีในภาษาไทยอย่างเช่นศัพท์วิชาการต่างๆ จะใช้ทับศัพท์ก็สมควร”ข้อใดไม่ปรากฎในข้อความข้างต้น
    การเสนอประเด็นปัญหา
    การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
    การแสดงผลของปัญหา
    การเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา
9. ข้อใดไม่ใช้ภาพพจน์แบบบุคคลวัต
    เมฆไหลลงห่มเงื้อม ผาชะโงก
    งามม่านเงาไม้โศก ซับซ้อน
    ดอกหญ้าป้าลมโบก ผวาช่อ
    ซ่าซ่าธาราชะอ้อน เร่งร้อนระหายฝัน
10. ข้อความต่อไปนี้ถ้าจัดวรรคให้ถูกต้องจะมีฉันทลักษณ์ตรงตามข้อใด “คุ้งขวางบางแวกตื้นพื้นทรายกรวดกระจ่างพร่างพรายลายเลื่อมพร้อยเหมือนเก็จเพชรรัตรายแอร่มอร่ามฉุกว่าแววแก้วก้อยนพเก้าวาวแหวน”
    พ่างพื้นนภาสุริยฉาย บุระบายวิวิธวรรณเพริศพราวประดับสุมณิฉัน มนชื่นระรื่นรมย์
    แดดในยามเย็นกำลังอ่อนลงสู่สมัยใกล้วิกาล ทอแสงแผ่ซ่านไปยังสาลีเกษตรแลเห็นเป็นทางสว่างไปทั่วประเทศสุดสายตา
    ถึงทุ่งขวางกลางย่านบ้านกระบือ ที่ลมอื้อนั้นค่อยเหือดด้วยคุ้งขวางถึงย่านหนึ่งน้ำเซาะเป็นเกาะกลาง ต้องแยกทางสองแควเป็นกระแสชล
    โพพญาท่าตลิ่งล้วน ล้อเกวียนโพไผ่ไม้เต็งตะเคียน ตะขบบ้างซิกซากกระบากกระเบียน กระเบากระแบกเสลาสลอดสลับสล้าง เหล้าไม้ใกล้กระสินธุ์
11. ข้อใดพรรณนาภาพเคลื่อนไหวชัดเจนที่สุด
    บเห็นถ้าต่อรบ รู้ว่าทบบมิทาน รู้ว่าราญมิรอดคิดเททอดครัวแตก แหกหนีหน่าอย่าพะ
    เขาก็มละบ้านเมือง เปลืองเปล่าผู้หมู่ชน ชวนกันซนชวนกันซุกบุกป่าดงป่าแดง แฝงเอาเหตุเอาผล
    ขับทวยกล้าเข้าแพง ขับทวยแขงเข้าฟัน สองฝ่ายยันยืนยุทธ์อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงโห่เอาชัย
    พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบันเงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฟาดฉะฉับ
12. ข้อใดสะท้อนความเชื่อที่แตกต่างจากข้ออื่น
    พอลอมแดงแรงเร็วเหมือนเปลวไฟ พัดธงชัยสามทัพหักพับลง
    ปักษาแสกแถกบินไปบูรพา พระผวากอดนางพลางประคอง
    นางรู้ว่ายาหยูกมิถูกต้อง ด้วยมีของคุ้มองค์ไม่หลงใหล
    แมงมุมชักใยไต่ตีอก ให้วิตกหวาดหวั่นพรั่นพรั่นจิต
13. ข้อใดไม่มีการแสดงเหตุผล
    คนมักง่ายจะได้ยาก คนมักลำบากจะได้ดี
    ประชาชนมั่นคงในศีลธรรม สังคมก็จะมีแต่ความสงบสุข
    ธรรมยังคงอยู่ตราบใด ศักดิ์ศรีของมนุษยชาติยังคงอยู่ตราบนั้น
    ปากจมูกเป็นประตู หูตาเป็นหน้าต่างที่ต้องเปิดปิดตามเวลา
14. ข้อใดมีการใช้ภาพพจน์
    คัคนานต์นฤราสร้าง ราคินคือระเบียบรัตนอินทนิล คาดไว้
    พระพึงพิเคราะห์ผู้ ภักดี ท่านนาคือพระยาจักรี กาจแกล้ว
    เกรงกระลับก่อรงค์ รั่วหล้าคือใครจักคุมคง ควรคู่ เข็ญแฮ
    เพื่อพระเดโชชนะ ศึกน้ำคือองค์อมิตรพระ จักมอด เมือเฮย
15. ข้อใดเป็นการแสดงทรรศนะ
    สมัยนี้เด็กไทยทั้งชายและหญิงไม่ค่อยสนใจฟังเพลงไทยเดิม แต่นิยมฟังเพลงไทยสากล
    ปัจจุบันนี้คนไทยส่วนใหญ่หันกลับมาใช้สมุนไพรไทยในการปรุงอาหารคาวหวานและเครื่องดื่ม
    ความเมตตา ความหวังดีและความเข้าใจเพื่อนมนุษย์เป็นเสมือนยาที่ช่วยรักษาผู้ป่วยทางจิต
    ไม่ว่าคนเราจะมีความเชื่อมั่นและทะนงในศักยภาพของตนเพียงใดก็ตาม สิ่งที่เขาต้องการมากที่สุดคือกาได้รักและเป็นที่รัก
16. ข้อใดแสดงแนวคิดที่ตรงกับคำประพัน์ต่อไปนี้มากที่สุด “ชนใดมีชาติข้า เลวทรามเพียรอุส่าห์พยายาม หมั่นหมั้นอยู่บดอยู่ฝนความ รู้แก่ ตนเฮยกลับยศใหญ่ยิ่งชั้น เช่นเชื้อผู้ดี”
    รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
    ดูผิวพรรณสรรพางค์อย่างคุลา แต่วิชาพางามขึ้นครามครัน
    อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
    ปากเป็นเอกเลขเป็นโทโบราณว่า หนังสือตรีมีปัญญาไม่เสียหลาย
17. ข้อความต่อไปนี้สะท้อนค่านิยมด้านใดเด่นชัดที่สุด “ปีพุทธศักราชสองพันห้าร้อยยี่สิบห้านี้กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์มีอายุจำเริญยืนยาวมาครบสองร้อยปี ประชาชนทั้งหลายต่างมีความปราโมทย์บันเทิงใจที่สามารถตั้งบ้านเมืองเป็นอิสระถาวรสืบมาได้อีกถึงสองศตวรรษและสมัครสามัคคีกันจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทั่วราชอาณาจักร”
    คตินิยม
    ชาตินิยม
    ประเพณีนิยม
    ธรรมเนียมนิยม
18. ข้อใดเป็นมงคลที่นำไปสู่การหลุดพ้น
    ความไม่ประมาทใน พหุธรรมะโกศล
    สำรวมวรินทรีย์ และสุราบ่เมามล
    บำรุงบิดามา- ตุระด้วยหทัยปรีย์
    ความงดประพฤติบาป อกุศลบ่ให้มี
19. ข้อความต่อไปนี้แสดงทรรศนะตามข้อใด “มหาวิทยาลัยมีภาระหน้าที่ในการเป็น องค์กรพัฒนาสังคม ที่ต้องมีบทบาทในการสร้างชาติและพัฒนาสังคมทั้งในทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ ภาระหน้าที่เช่นนี้เป็น พันธกิจ ขององค์กร ดังนั้นทิศทางของมหาวิทยาลัยทั้งในการผลิตบัณฑิตและในการดำรงอยู่ขององค์กรก็น่าจะสอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าวเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นพลังทางสังคม”
    ทรรศนะเชิงข้อเท็จจริง
    ทรรศนะเชิงนโยบาย
    ทรรศนะเชิงคุณค่าและนโยบาย
    ทรรศนะเชิงคุณค่าและข้อเท็จจริง
20. ข้อใดมีกลวิธีการใช้คำต่างจากข้ออื่น
    ปลาทุกทุกข์อกกรม เหมือนทุกข์ที่พี่จากนาง
    อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล
    เสียงสรวลระรี่นี้ เสียงแก้วพี่หรือเสียงใคร
    หนาวพรมน้ำค้างพราว หนาวซอกผาหินศิลาเย็น
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แนวข้อสอบภาษาอังกฤษ ป.5


4. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


หน้าแรก

EDUCATION RESEARCH | Test Home
Version Thaitestonline.com | Mobile
เพื่อนบ้านเว็บครูออฟ