ข้อสอบ O-NET วิชา ภาษาไทย ม.ปลาย ชุดที่ 3

ข้อสอบ คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 7 ข้อขึ้นไป
ข้อสอบชุดนี้แสดงผลแล้ว 5499 ครั้ง
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
ข้อสอบชุดนี้จำนวน 20 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อสอบ คลิก ทำแบบทดสอบออนไลน์
1. ข้อใดมีคำประพันธ์ที่เหมือนกับคำประพันธ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ "กลางไพรไก่ขันบรรเลงฟังเสียงเพียงเพลงซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง"
    เร่งพลพาชีตีกระหนาบตัวนายชักดาบออกไล่หลัง
    ตีนงูงูไซร้หากเห็นกันนมไก่ไก่สำคัญไก่รู้
    ลิงค่างครางโครกครอกฝูงจิ้งจอกออกเห่าหอน
    ไว้ปากไว้วากย์วาทีไว้วงศ์กวีไว้เกียรติและไว้นามกร
2. ข้อใดผู้อ่านควรใช้เสียงเน้นหนัก เพื่อให้เห็นความสำคัญของเนื้อหาทำให้เกิดความไพเราะ ชวนให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง
    เรื่องวัดพระเชตุพนฯ นี้ น่าจะไขความไว้ที่ตรงนี้ได้อีกหน่อย ผู้อ่านจะได้เข้าใจ
    ท่านพระครูไม่ยอมให้แก้ไขในบริเวณโบสถ์ที่ท่านเคยลงไปอยู่เมื่อต่อสู้กับพวกโจร
    กรุงสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครใคร่ค้าม้าค้า ใครใคร่ค้าช้างค้า
    แม่มิเคยได้เคืองแค้นเหมือนครั้งนี้ เมื่อจากบุรีทุเรศมาก็พร้อมหน้าทั้งลูกผัวเป็นเพื่อนทุกข์ สำคัญ ว่าจะเป็นสุขประสายาก
3. ชื่อเรื่องของเรียงความในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
    ยามเช้าที่โขงเจียม
    ทะเลงามยามสายัณห์
    ทุ่งทานตะวัน สีสันประเทศไทย
    สร้างชีวิตด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. ข้อใดให้คำจำกัดความของคำว่าการอ่านเพื่อวิเคราะห์ได้ถูกต้อง
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านอย่างมีสมาธิ จดจ่ออยู่กับเรื่องที่อ่าน
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านอย่างมีวิจารณญาณไตร่ตรองรอบคอบ
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านเพื่อแยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งที่อ่าน
    การอ่านเพื่อวิเคราะห์ คือการอ่านเพื่อจำแนกประเภทสิ่งที่อ่านในชีวิตประจำวัน
5. ลักษณะคำในข้อใดมีการกลายเสียง
    อย่างนี้-ยังงี้
    สะดือ-สายดือ
    หมากพร้าว-มะพร้าว
    ตะกรุด-กะตุด
6. หลักการในข้อใดควรปฏิบัติในการตัดสินประเมินคุณค่างานเขียน
    อ่านและตีความ
    แยกแยะองค์ประกอบภายในเรื่อง
    วิเคราะห์องค์ประกอบภายในเรื่องอย่างรอบด้าน
    พิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาของเจ้าของผลงาน
7. คำประพันธ์ในข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
    เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน
    รอนรอนอ่อนอัสดง พระสุริยงเย็นยอแสง ช่วงดังน้ำครั่งแดง แฝงเมฆเขาเงาเมรุธร
    เขาตกทะเลบก สิก็ตกทะเลไป คลื่นสีขจีใส ปะทะซ่าฉะฉ่าฉาน
    จำปาหนาแน่นเนื่อง คลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม คิดคะนึงถึงนงราม
8. ข้อใดเป็นคำไทยแท้ทุกคำ
    คนงานใหม่ขยันเป็นพักๆ เอาแน่ไม่ได้
    นักเรียนอนุบาลหกล้มหัวเข่าแตกเลือดไหลซิบๆ
    ในสวนสาธารณะมีคนออกกำลังกายกันประปราย
    ที่ปากทางเข้าหมู่บ้านมียามรักษาการอยู่ตลอดเวลา
9. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ตรีมากที่สุด
    ประเพณีกินเจของชาวจีนมีอาหารเจขายมากมาย
    ร้านค้าขายโค้กยังติดธงเจสีเหลืองเลย
    ผัดหมี่ ผัดซีอิ๊ว และโกซีหมี่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
    เธอชอบกินอาหารเจใช่ไหม วันพรุ่งนี้ฉันจะซื้อมาฝาก
10. คำว่า "ขัน" ข้อใดมีหน้าที่ของคำแตกต่างจากข้ออื่นมากที่สุด
    เขาพูดเรื่องขำขัน
    ไหนขันที่ฉันต้องการ
    เขาขันอาสาช่วยเหลือเรา
    เมื่อเช้านี้ ไก่ขันเสียงดังมาก
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ ครับ

EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS