ภาษาไทย หลักภาษา ชั้น ป.5

ภาษาไทย คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 60 หรือ 18 ข้อขึ้นไป
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
1. เขี้ยว มีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับคำใด
    เคี่ยว
    เลี้ยว
    เกี่ยว
    เปลี่ยว
2. ข้อใดมีเสียงวรรณยุกต์ต่างจากพวก
    เจ็บปวด
    ลำคลอง
    อดอยาก
    เก่าใหม่
3. คำเชื่อมที่แสดงเหตุผล คือข้อใด
    และ
    จึง
    แต่
    หรือ
4. ข้อใด มีความหมายตรงกับสำนวนที่ว่า รำไม่ดี โทษปี่โทษกลอง
    ตัวเองทำผิดทำไม่ดี แล้วกลับไป โทษผู้อื่น
    ทำเรื่องที่สงบไปแล้วให้วุ่นวายขึ้น มาอีก
    หลบหลีกไปได้อย่างคล่องแคล่ว
    ตกใจ ใจหาย
5. คำในข้อใด มีความหมาย ไม่เหมือนกันทุกคน
    หัสนัยน์ มัฆวาน อมรินทร์
    อาสัญ บรรลัย ตักษัย
    กุมภัณฑ์ รากษส อสุรินทร์
    อัปสร สุรางค์ อรไท
6. ข้อใดเป็นลักษณะของประโยคความเดียว
    พ่อและแม่ทำงาน
    แม่ทำกับข้าวเช้า
    น้อยและนิดที่กำลังว่ายน้ำ
    ทั้งเธอและฉันต่างไม่เข้าใจ
7. ข้อใด มีความหมายตรงกับสำนวนที่ว่า กวนน้ำให้ขุ่น
    ทำเรื่องที่สงบไปแล้วให้วุ่นวายขึ้นมาอีก
    หลบหลีกไปได้อย่างคล่องแคล่ว
    ตกใจ ใจหาย
    ตัวเองทำผิดทำไม่ดี แล้วกลับไป โทษผู้อื่น
8. ข้อใด มีความหมายตรงกับสำนวนที่ว่า หายเข้าครีบเมฆ
    ตกใจ ใจหาย
    หลบหลีกไปได้อย่างคล่องแคล่ว
    ตัวเองทำผิดทำไม่ดี แล้วกลับไป โทษผู้อื่น
    ทำเรื่องที่สงบไปแล้วให้วุ่นวายขึ้น มาอีก
9. ให้นักเรียนอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ระหว่างนักเขียนกับนักหนังสือพิมพ์มีเส้นแบ่งอย่างหลวมๆ ประการหนึ่งตรง ที่นักเขียนอาศัยจินตนาการ พึ่งพิงความสามารถทางภาษาที่ค่อนข้างพริ้ง-พราววิลิศมาหราด้วยสำบัดสำนวน ขณะที่นัก หนังสือพิมพ์อาศัยความจริงและถ่ายทอดความจริงออกมาอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม วกวน นักเขียน นักประพันธ์ หรือกวี จึงมักเป็นคนช่างฝัน ขณะที่นักหนังสือพิมพ์ นักข่าว กอดความจริง อยู่กับความจริง จาก มติชนรายสัปดาห์ จากบทความข้างต้น นักข่าวต้องใช้ความสามารถด้านใดมากที่สุด
    ภาษาเขียน
    ค้นหาข้อเท็จจริง
    จินตนาการ
    การใช้สำบัดสำนวน
10. ข้อใด ไม่ควรใช้ ในการย่อความ
    ไม่ใช้สรรนามบุรุษที่1และ2
    ใช้อักษรย่อเพื่อความสะดวก
    อ่านเนื้อเรื่องให้ละเอียด
    คัดข้อความที่ซ้ำซ้อนออก
11. นิดเขียนจดหมายถึงยาย ควรเขียนคำลงท้ายว่าอย่างไร
    ด้วยความเคารพ
    ด้วยความเคารพอย่างสูง
    ด้วยความรักและคิดถึง
    กราบเท้า
12. คำว่า กิน ควรใช้กับบุคคลประเภทใด
    พระเจ้าแผ่นดิน
    บุคคลทั่วไป
    พระ
    พระราชวงศ์
13. ข้อใดคือคำลงท้ายในจดหมายถึงครู
    ด้วยความเกรงใจ
    ด้วยความศรัทธา
    ด้วยความยำเกรง
    ด้วยความเคารพ
14. ไม่รู้คุณค่าของสิ่งที่ได้มาเป็นความหมายของข้อใด
    ไก่ได้พลลอย วานรได้แก้ว
    คางคกขึ้นวอ
    หัวล้านได้หวี
    วัวหายล้อมคอก
15. ข้อใดเป็นประโยคสองส่วน
    แม่ตัดเสื้อผ้า
    ลุงสอบมะม่วง
    ฝนตกหนัก
    ป้าถือของหนัก
16. ข้อใดไม่ใช่วิธีการย่อความที่ถูกต้อง
    อ่านหรือฟังเรื่องราวอย่างน้อย 2 ครั้ง
    ใช้อักษรย่อเพื่อย่อข้อความ
    ฟังหรืออ่านอย่างตั้งใจ
    บันทึกใจความสำคัญด้วยสำนวน ใหม่
17. ข้อใดเป็นประโยคสองส่วน
    ลดพัดแรง
    งามกางร่ม
    เกดเล่นนำทะเล
    ฝ้ายขายน้ำแข็งใส
18. ให้นักเรียนอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ระหว่างนักเขียนกับนักหนังสือพิมพ์มีเส้นแบ่งอย่างหลวมๆ ประการหนึ่งตรง ที่นักเขียนอาศัยจินตนาการ พึ่งพิงความสามารถทางภาษาที่ค่อนข้างพริ้ง-พราววิลิศมาหราด้วยสำบัดสำนวน ขณะที่นัก หนังสือพิมพ์อาศัยความจริงและถ่ายทอดความจริงออกมาอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม วกวน นักเขียน นักประพันธ์ หรือกวี จึงมักเป็นคนช่างฝัน ขณะที่นักหนังสือพิมพ์ นักข่าว กอดความจริง อยู่กับความจริง จาก มติชนรายสัปดาห์ ข้อความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร
    การถ่ายทอดความจริงและความ สามารถทางภาษา
    การเป็นคนช่างฝันและอยู่กับความ จริง
    การใช้ภาษาของนักหนังสือพิมพ์ และนักเขียน
    ความแตกต่างระหว่างนักเขียนกับ นักข่าว
19. กาพย์ยานี 11 ในบทมี 4 วรรค นับเป็นเท่าใด
    2 บาท
    2 บท
    1 บาท
    4 บาท
20. ประโยคในข้อใดเป็นการสื่อสารที่แตกต่างจากพวก
    ทำไมเธอถึงทำอย่างนั้น
    พ่ออยู่ที่ไหน
    เมื่อไรเขาจะเข้ามา
    ฉันทำอะไรก็ผิดไปหมด
21. ใจคนล้วนบอบบางเปราะพังง่าย พร้อมจะแหลกสลายไหวส่ายสั่น หากไม่ทะนุถนอมน้ำใจกัน สายใยความสัมพันธ์ก็ราน ร้าว...จากบทกลอนข้างต้น ให้ข้อคิดในเรื่องใด
    การอยู่ร่วมกันในสังคม
    ความแตกแยก
    ความสามัคคี
    จิตใจของมนุษย์
22. เขาตั้ง.........ไว้ว่าจะเป็นครูที่ดี ควรเติมคำใดในช่องว่าง
    ปณิธาน
    อุปมา
    อุทาน
    อุปไมย
23. คุณตาเป็นคนคร่ำครึ คำว่า "คนคร่ำครึ" ตรงข้ามกับข้อใด
    ทันสมัย
    ก้าวหน้า
    เลิศหรู
    หรุหรา
24. ข้อใดใช้เครื่องหมายวรรคตอนถูกต้อง
    เธอจะไปไหนตอนนี้
    แม่พูดว่า นิดจะไปไหนลูก
    คุณลุงมีสิ่งของ......มากมาย
    (ใครจะไปตลาดบ้าง) นกถาม
25. คำใด สะกดถูกต้อง
    อนุรักษ์
    มัคคุเทศ
    จำนง
    บิณฑบาตร์
26. เครื่องหมายใดใช้เขียนหลังอักษรย่อ
    อัศเจรีย์
    มหัพภาค
    จุลภาค
    ยัติภังค์
27. อุ้ย........เข้ามาเงียบๆตกใจหมดเลย ควรใส่เครื่องหมายใดในช่องว่าง
    นขลิขิต
    อัญประกาศ
    อัศเจรีย์
    ปรัศนี
28. นักเรียนมีวิธีการย่อความอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ได้เรียนมา
    อ่านแล้วขีดเส้นใต้ใจความที่คิดว่าสำคัญ
    อ่านทีละย่อหน้าแล้วเขียนเลขกำกับไว้กันลืม
    อ่านให้เข้าใจแล้วเรียบเรียงใหม่ด้วยภาษาของผู้ย่อเอง
    นำข้อความที่เลือกแล้วว่าสำคัญมาเขียนให้ติดต่อกันไปจนจบเรื่อง
29. ข้อใดคือการพัฒนางานเขียน
    การได้รับรางวัลจากการเขียน
    การเขียนเรื่องใหม่ที่มีความยาก กว่าเรื่องเดิม
    การเขียนเรื่องใหม่ได้ดียิ่งขึ้น
    การปรับปรุงงานเขียนให้สมบูรณ์
30. ควรเติมข้อความใดลงในช่องว่าง สมัยนี้ไม่นิยมการแต่งงานแบบ........เหมือนสมัยก่อนแล้ว
    คลุมถุงชน
    กระต่ายหมายจันทร์
    เหลือบ่ากว่าแรง
    สอยออกฟ้า
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


4. ข้อสอบ บรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอก ปฐมวัย พร้อมเฉลย 50 ข้อ


นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ


EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS