สารและสมบัติของสาร ม.ปลาย ชุดที่3

สารและสมบัติของสาร คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
1. คอเลสเตอรอลเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันคอเลสเตอรอลก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายด้วยเช่นกัน ให้นักเรียนลองพิจารณาว่าบุคคลในข้อใดต่อไปนี้อาจได้รับอันตรายจากคอเลสเตอรอลได้
    สมชายมักจะออกไปวิ่งออกกำลังกายยามเช้าเสมอ
    สุชาติบริโภคผักสีเขียวในปริมาณมากเป็นประจำ
    สมปองชอบกินอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวเป็นปริมาณมาก
    สุขใจดื่มน้ำอัดลมอยู่เป็นประจำและออกกำลังกาย
2. การกระทำในข้อใด เป็นการช่วยให้สารสามารถเกิดปฏิกิริยาเคมีได้เร็วขึ้น
    การเก็บอาหารสดเข้าตู้เย็น
    การใส่สารกันบูดลงในอาหาร
    การนำน้ำแข็งมาให้ความร้อน
    การหั่นอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปทอด
3. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่การใช้ประโยชน์จากไขมันหรือน้ำมัน
    ใช้ในการผลิตสบู่
    เป็นตัวทำละลายวิตามินบางชนิด
    ช่วยในการย่อยสลายโปรตีนบางชนิด
    ใช้ในการผลิตเนยเทียม
4. คาร์โบไฮเดรตในข้อใด ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่เซลล์โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลาย
    กลูโคส
    ซูโครส
    แป้ง
    ไกลโคเจน
5. คำกล่าวในข้อใดต่อไปนี้ที่ถูกต้องที่สุด
    อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นอยู่กับผิวสัมผัสของสารตั้งต้น
    การเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีผลทำให้ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาลดลง
    ปฏิกิริยาคายความร้อนจะสามารถเกิดปฏิกิริยาได้ง่ายกว่าปฏิกิริยาดูดความร้อน
    ค่าพลังงานก่อกัมมันต์ คือ ความแตกต่างระหว่างพลังงานภายในสารก่อนเกิดปฏิกิริยาและหลังเกิดปฏิกิริยา
6. สารชนิดหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยากับทิงเจอร์ไอโอดีน เปลี่ยนสีทิงเจอร์ไอโอดีนเป็นสีน้ำเงิน นักเรียนคิดว่าสารนั้นคือสารในข้อใด
    เซลลูโลส
    แป้ง
    ไกลโคเจน
    กลูโคส
7. การเติมตัวหน่วงปฏิกิริยาจะมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร
    เพิ่มค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของปฏิกิริยาให้สูงขึ้น
    จัดทิศทางการชนกันของอนุภาคของสารให้มีทิศทางที่ถูกต้อง
    เร่งปฏิกิริยาให้เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น
    อนุภาคของสารตั้งต้นจะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น
8. ให้นักเรียนพิจารณาข้อความต่อไปนี้ ข้อใดที่กล่าวถูกต้องที่สุด
    โปรตีนมีธาตุองค์ประกอบ คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดเจน ออกซิเจน และไนโตรเจน
    โปรตีนเป็นสารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่มาก มีสถานะเป็นของเหลว ไม่ละลายน้ำ
    โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ประกอบด้วยโมเลกุลของกลีเซอไรด์เชื่อมต่อกัน
    สมบัติเฉพาะตัวของโปรตีน คือทำปฏิกิริยาไบยูเร็ตได้สารที่มีสีม่วงหรือชมพู
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    การลดค่าพลังงานก่อกัมมันต์จะทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดได้เร็วขึ้น
    สารตั้งต้นส่วนใหญ่เมื่อเพิ่มอุณหถูมิให้สูงขึ้น จะทำให้ปฏิกิริยาเคมีเกิดได้เร็วขึ้น
    ในการชนกันของโมเลกุลของสารตั้งต้นทุกครั้งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี
    การเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสของสารตั้งต้น จะมีผลให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเร็วขึ้นได้
10. เบสชนิดใดที่ไม่พบอยู่ในโครงสร้างของดีเอ็นเอ
    ยูราซิล
    ไทมีน
    อะดีนิน
    กวานีน
11. ข้อใดต่อไปนี้ ที่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบของนิวคลีโอไทด์
    หมู่คาร์บอกซิล
    หมู่ฟอสเฟต
    น้ำตาลเพนโทส
    ไนโตรเจนเบส
12. จงทำนายว่าสารชนิดหนึ่งเมื่อนำมาแบ่งออกเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน และนำไปทดสอบกับสารต่างๆ ได้ผลดังนี้ส่วนที่ 1 ทดสอบกับสารละลายไอโอดีนได้สีม่วงและน้ำเงินส่วนที่ 2 ผสมกับสารละลายกรดไฮโดรคลอริก จากนั้นนำไปต้มและทดสอบด้วยสารละลายเบเนดิกต์ได้ตะกอนสีแดงส้มส่วนที่ 3 เติมสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ แล้วเติมสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตได้สีม่วงจากผลการทดสอบดังต่อไปนี้ นักเรียนคิดว่าสารชนิดนี้เป็นสารในข้อใด
    น้ำผึ้ง
    น้ำส้ม
    น้ำเต้าหู้
    น้ำซุปไก่
13. ไขมันและน้ำมันเป็นสารประกอบที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ เกิดขึ้นจากการรวมตัวทางเคมีระหว่างสารชนิดใด ในอัตราส่วนเท่าใด
    กรดไขมัน 3 โมเลกุล รวมกับกลีเซอรอล 1 โมเลกุล
    กรดไขมัน 1 โมเลกุล รวมกับกลีเซอรอล 3 โมเลกุล
    กรดอินทรีย์ 2 โมเลกุล รวมกับแอลกอฮอล์ 2 โมเลกุล
    ไขมันหรือน้ำมัน 1 โมเลกุล รวมกับเบส 3 โมเลกุล
14. จากข้อความต่อไปนี้ ข้อใดไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้โปรตีนแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน
    ชนิดของกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบ
    จำนวนของกรดอะมิโนในแต่ละโมเลกุล
    ลำดับและการจัดเรียงตัวของกรดอะมิโนในโมเลกุล
    ชนิดของธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก
15. ข้อใดที่ไม่ใช่ลักษณะของสารชีวโมเลกุล
    เป็นแหล่งพลังงานเคมีที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
    เป็นสารที่พบเฉพาะในผู้ผลิตในระบบนิเวศเท่านั้น
    บางชนิดเป็นองค์ประกอบในระบบเนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อของสิ่งมีชีวิต
    บางชนิดเป็นสารพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต
16. การกระทำในข้อใดต่อไปนี้ ที่ไม่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพของโปรตีน
    ไข่ดิบที่ตอกลงในโจ๊กเดือด
    เนื้อที่แช่ในตู้เย็นทำกับข้าวใส่บาตร
    ไก่ที่ทอดจนเหลืองกรอบ
    หอยนางรมบีบมะนาว
17. “โรคตานขโมย” เกิดจากการขาดสารอาหารในข้อใด
    โปรตีน
    ไขมัน
    คาร์โบไฮเดรต
    วิตามิน
18. จากข้อความต่อไปนี้ ข้อใดที่กล่าวถูกต้องที่สุด
    ฟรักโทสจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทไดแซกคาไรด์
    เซลลูโลสสามารถทำปฏิกิริยากับไอโอดีนให้สารละลายสีม่วง
    แป้งเป็นพอลิแซกคาไรด์ที่สามารถละลายน้ำได้ดี มีรสหวาน ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย
    น้ำตาลมอนอแซกคาไรด์สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ เกิดเป็นตะกอนสีแดงอิฐ
19. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต
    เป็นสารอาหารหลักที่ใช้เผาผลาญให้พลังงานแก่ร่างกาย
    เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด
    เป็นตัวทำละลายของวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายบางชนิด
    ช่วยให้สามารถนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
20. ธาตุชนิดใดต่อไปนี้ ที่ไม่ได้เป็นองค์ประกอบในสารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
    คาร์บอน
    ฟอสฟอรัส
    ไฮโดเจน
    ออกซิเจน
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


4. ข้อสอบ บรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอก ปฐมวัย พร้อมเฉลย 50 ข้อ


นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ


EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS