วิชาสังคมศึกษาม.1 ชุดที่33

วิชาสังคมศึกษาม.1 คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 14 ข้อขึ้นไป

71896 วิชาสังคมศึกษาม.1 ชุดที่33

หน้านี้แสดงครั้งละ 20 ข้อบนเครื่องพิวเตอร์ทั่วไป
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
1. ภาษาที่สามารถใช้สื่อสารในการติดต่อกันทั่วทั้งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คือภาษาใด
    ภาษาจีนและภาษาอินเดีย
    ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
    ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ
    ภาษาอังกฤษและภาษาอินเดีย
2. ข้อใดเป็นการกระทำที่นำไปสู่ความเข้าใจผิดต่อกัน
    พม่าไม่ให้ชาวตะวันตกไปลงทุนทำป่าไม้
    อินโดนีเซียปราบปรามโจรสลัดที่ปล้นเรือสินค้า
    ประเทศเพื่อนบ้านทดสอบอาวุธเชื้อโรค
    ประเทศบรูไนผลิตน้ำมันออกสู่ตลาดโลก
3. การแต่งกายชุดอ๋าวได๋เป็นชุดประชำชาติของประเทศใด
    มาเลเซีย
    สิงคโปร์
    เวียดนาม
    อินโดนีเซีย
4. ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีแบบแผนประเพณีพิธีกรรมเหมือนชาติตะวันตกคือประเทศใด
    ฟิลิปปินส์
    เวียดนาม
    อินโดนีเซีย
    สิงคโปร์
5. ข้อใดไม่ใข่ประเพณีวัฒนธรรมไทยที่มาจากพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
    การทอดกฐิน
    การทอดผ้าป่า
    การอุปสมบท
    การบริจาคทมานที่เรียกว่า “ซะกาต”
6. ประเทศในข้อใดที่มีการนับถือศาสนาหลายศาสนา และนับถือลัทธิธรรมเนียมตามแบบจีน
    ไทย ลาว
    อินโดนีเซีย บรูไน
    ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
    สิงคโปร์ เวียดนาม
7. ประเพณีวัฒนธรรมในข้อใดแตกต่างจากกลุ่ม
    ประเพณีการทำขวัญข้าว
    ประเพณีลอยกระทง
    ประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว
    ประเพณีเข้าพรรษา
8. วัฒนธรรมใดเป็นวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลในสังคมไทย
    ลุงสุขร้องเพลงลูกทุ่งให้หลานฟัง
    นัทแต่งกายด้วยผ้าไหมไปทำงาน
    วุฒินำดยุ้ยไปทานพิซซ่าที่ห้างสรรพสินค้า
    ฟ้าสมัครเข้าชมรมดนตรีไทยของมหาวิทยาลัย
9. ประเทศเพื่อนบ้านในข้อใดมีพื้นฐานวัฒนธรรมมาจากศาสนาเดียวกัน
    ไทย ลาว บรูไน
    สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ บรูไน
    มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย
    พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย
10. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมไม่ถูกต้อง
    วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม
    วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้
    วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
    วัฒนธรรมเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต
11. วัฒนธรรมในข้อใดที่อาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิดต่อกันได้มากที่สุด
    วัตถุธรรม
    เนติธรรม
    วัฒนธรรมเดียวกับวิถีปฏิบัติ
    ขนบธรรมเนียมประเพณี
12. “การแต่งงานของคนไทยต้องมีการแห่ขันหมาก การสู่ขอ การรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว และมีงานเลี้ยงฉลองสมรส” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับลักษณะวัฒนธรรมไทยในข้อใด
    เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติ
    เป็นวัฒนธรรมที่ยึดพิธีกรรม
    เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน
    เป็นวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดระเบียบเรียบร้อยมีขั้นตอน
13. “ในวัยลอยกระทง ชาวไทยจะชวนกันไปลอยกระทงตามแม่น้ำลำคลอง” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับความสำคัญของวัฒนธรรมอย่างไร
    ก่อให้เกิดความกตัญญู
    ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
    ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบของสังคม
    ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
14. “การกระทำที่สมาชิกในสังคมนิยมนับถือ และถือประพฤติปฎิบัติสืบต่อกันมา ถ้าสมาชิกคนใดไม่ประพฤติปฏิบัติตามจะถูกติเตียน เหยียดหยามจากสังคม” ข้อความข้างต้นหมายถึงข้อใด
    คติธรรม
    เนติธรรม
    วัฒนธรรมเดียวกับวิถีปฏิบัติ
    ขนบธรรมเนียมประเพณี
15. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
    เกิดจากการเลียนแบบวัฒนธรรมของชาติอื่น
    เกิดจากการติดต่อสัมพันธ์กับชาติอื่นในภูมิภาคเดียวกัน
    เกิดจากการคิดค้นสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษและถ่ายทอดสืบต่อกันมา
    เกิดจากการคิดค้นสร้างสรรค์ของคนไทย และการรับวัฒนธรรมอื่นมาปรับใช้
16. วัฒนธรรมทางภาษาในข้อใด อาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิดต่อกันได้มากที่สุด
    วัจนภาษา
    อวัจนภาษา
    ภาษาพูด
    ภาษาเขียน
17. คำกล่าวที่ว่า “ถ้าชาติใดขาดวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้” จากคำกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงอะไร
    วัฒนธรรมทำให้คนมีระเบียบ
    เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    ก่อให้เกิดความเป็นระเบียบของสังคม
    ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
18. ประเทศเพื่อนบ้านที่ได้รับวัฒนธรรมส่วนใหญ่จากอินเดียและนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนกับไทย ได้แก่ข้อใด
    พม่า ลาว กัมพูชา
    พม่า มาเลเซีย ลาว
    พม่า เวียดนาม ลาว
    เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย
19. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคมหมายความว่าอย่างไร
    วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้
    วัฒนธรรมสามารถรับมาจากสังคมอื่นได้
    วัฒนธรรมสามารถถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งต่อๆ ไป
    วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ต้องเป็นมรดกสืบทอดต่อๆ กันไป
20. “หลังจากเสร็จฤดูเก็บเกี่ยว คนไทยมักจะมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เป็นต้น” ข้อความดังกล่าวสอดคล้องกับลักษณะวัฒนธรรมไทยในข้อใด
    เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม
    เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือเครือญาติ
    เป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือพิธีกรรม
    เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
แนะนำชุดข้อสอบ

1. แนวข้อสอบวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดที่ 1


2. แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง กีฬาแบดมินตัน


3. แบบทดสอบวิชาบาสเก็ตบอล


4. ข้อสอบ บรรจุครูผู้ช่วย วิชาเอก ปฐมวัย พร้อมเฉลย 50 ข้อ


นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ


EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS