THAITESTONLINE WEBBOARD

การวิเคราะห์ข้อสอบ ( Item Analysis )



การวิเคราะห์ข้อสอบ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบเป็นรายข้อ เพื่อพิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อนั้น มีระดับความยากหรือค่าความง่าย ( Difficulty index or Easiness ) และค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ ( Disciminant index ) เพียงใด รวมทั้งพิจารณาถึงประสิทธิภาพของตัวลวงในข้อเลือกตอบของข้อสอบข้อนั้นด้วย ผลการวิเคราะห์จะทำให้ทราบว่าข้อสอบแต่ละข้อมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ข้อสอบที่มีคุณภาพจะสามารถนำไปวัดและประเมินผลได้อย่างเที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้

ข้อสอบที่จะวิเคราะห์คุณภาพรายข้อ ลักษณะข้อสอบจะเป็นแบบเลือกตอบ แบบถูก ? ผิด หรือแบบเติมคำสั้น ๆ ก็ได้ แต่ต้องมีรูปแบบเดียวกันทั้งฉบับ ซึ่งมีวิธีวิเคราะห์ 2 แบบ คือ



1. การวิเคราะห์ข้อสอบแบบเลือกตอบแบบอิงกลุ่ม





เป็นการวิเคราะห์ข้อสอบที่ใช้ผลการสอบไปประเมินแบบอิงกลุ่ม โดยนำความแตกต่างระหว่างบุคคลมาเป็นแนวคิดในการประเมินผล การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่มนี้ จึงเป็นการวิเคราะห์โดยนำผลคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับผลคะแนนของผู้เรียนคนอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อจำแนกคนที่เรียนเก่งออกจากคนที่เรียนอ่อน

ดัชนีบ่งชี้คุณภาพของข้อสอบสำหรับแบบสอบอิงกลุ่ม ได้แก่ ระดับความยากง่าย ( p ) และอำนาจจำแนก ( r ) ซึ่งข้อสอบที่ดีนั้น นอกจากจะต้องมีระดับความยากง่ายพอเหมาะแล้ว จะต้องมีอำนาจการจำแนกที่ดีด้วย

1.1 ระดับความยากง่าย ( p ) หมายถึง สัดส่วนของจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบได้ถูกต้องต่อจำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบทั้งหมด หรือหมายถึงจำนวนร้อยละของผู้ตอบข้อสอบนั้น ๆ ถูก ตัวอย่างเช่น ค่า p = 0.30 แสดงว่า จำนวนผู้ตอบ 100 คน มีผู้ที่ตอบข้อนั้น ๆ ถูก 30 คน ค่าความยากง่ายจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1.00

ในการพิจารณาค่าความยากง่ายนั้น ถ้าข้อสอบมีค่าความยากง่ายสูง เช่น p = 0.95 แสดงว่า มีผู้ตอบถูกจำนวนมาก จึงถือว่าเป็นข้อสอบที่ง่าย แต่ในทางกลับกัน ถ้าข้อสอบมีผู้ตอบถูกน้อย เช่น p = 0.15 แสดงว่า เป็นข้อสอบที่ยาก

ข้อสอบที่ดีจะมีระดับความยากง่าย เท่ากับ 0.5 ซึ่งจะทำให้เกิดค่าอำนาจการจำแนกสูงสุดและมีความเที่ยงสูง อย่างไรก็ตามในการสอบวัดความรู้ผลการเรียนโดยทั่วไป มักนิยมให้มีข้อสอบที่มีระดับความยากง่ายในระดับต่าง ๆ ปะปนกันไป โดยจัดให้มีข้อสอบมีค่าความยากง่ายพอเหมาะ ( p มีค่าใกล้เคียง 0.5 ) เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งให้มีข้อสอบที่ค่อนข้างยากและค่อนข้างง่ายอีกจำนวนหนึ่ง แต่ถ้าเป็นการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความรู้ความสามารถควรมีสัดส่วนของข้อสอบที่ยากสูงขึ้น ทั้งนี้ ข้อสอบที่ดีควรมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.20 ? 0.80 ในข้อสอบประเภท 4 ตัวเลือก ส่วนข้อสอบประเภทถูก ? ผิด ค่าความยากง่าย ควรอยู่ระหว่าง 0.60 - 0.95 ( Nunnally, 1967. อ้างถึงใน เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี, 2552 , หน้า 144 - 145 )
โดย admin
ตอบกระทู้ รวมกระทู้ ตั้งกระทู้ ทำข้อสอบ
ความคิดเห็นที่่ 1
admin   2019-10-01 14:56:29
เกณฑ์การแปลความหมายค่าความยากง่าย ( p ) ของข้อสอบ ( ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ, 2543, หน้า 185 )


ความคิดเห็นที่่ 2
admin   2019-10-01 14:57:11
1.2 อำนาจจำแนก ( r ) หมายถึง ความสามารถของข้อสอบในการจำแนกหรือแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างผู้สอบที่มีผลสัมฤทธิ์ต่างกัน เพื่อที่จะใช้พยากรณ์หรือบ่งชี้ความแตกต่างที่เห็นชัดในด้านความสามารถ เช่น จำแนกคนเก่งกับคนอ่อนจากกันได้ โดยถือว่าคนเก่งควรทำข้อสอบข้อนั้นได้ ส่วนผู้ที่อ่อนไม่ควรทำข้อสอบข้อนั้นได้ อำนาจจำแนกของข้อสอบ จะมีค่าตั้งแต่ - 1 ถึง + 1 ค่าอำนาจจำแนกที่ดี ควรมีค่าตั้งแต่ 0.2 ขึ้นไป

กรณีที่ค่า r ติดลบ แสดงว่า ข้อสอบข้อนั้นจำแนกกลับ คนเก่งทำไม่ได้ แต่คนอ่อนทำได้ ถือว่าเป็นข้อสอบที่ไม่ดีควรตัดทิ้ง นอกจากนี้ อาจารย์ผู้สอนควรตรวจสอบการจัดการเรียนสอนของตน ว่าเพราะเหตุใดผู้ที่เรียนเก่งจึงไม่เข้าใจในเรื่องที่สอน


ความคิดเห็นที่่ 3
admin   2019-10-01 14:57:57
เกณฑ์การแปลความหมายค่าอำนาจจำแนก ( r ) ของข้อสอบ


© 2016 All right reserved.