วิชาที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจ

วิชาที่ คำชี้แจง
- ถ้าไม่กรอกทั้งชื่อ และนามสกุลของผู้ทำข้อสอบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ หากต้องการบันทึกโปรดสมัครสมาชิก
- ถ้าทำข้อสอบไม่ครบ ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- ผู้ทำข้อสอบจะมีเวลาในการทำข้อสอบเพียง 30 นาที หากเกินเวลา ระบบจะไม่ตรวจข้อสอบให้
- เกณฑ์ตัดสินผ่านการทดสอบอยู่ที่ร้อยละ 70 หรือ 7 ข้อขึ้นไป
ข้อสอบชุดนี้แสดงผลครั้งละ 10 ข้อ บนเครื่องคอมพิวเตอร์สมาชิก
ข้อสอบชุดนี้แสดงผลแล้ว 2261 ครั้ง
ส่วนนี้จะไม่มีการบันทึกผลสอบ และแสดงเฉลยแบบทดสอบ หากต้องการบันทึก และรายงานการทำแบบทดสอบ โปรดสมัครสมาชิก 
ข้อสอบชุดนี้จำนวน 42 ข้อ หากต้องการเพิ่มจำนวนข้อสอบ คลิก ทำแบบทดสอบออนไลน์
1. พนักงานวิทยุสมัครเล่นจะได้รับการพิจารณาโทษโดยการให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราวเป็นเวลาไม่เกินหกเดือน ในกรณีใด
    มี หรือ ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
    ตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
    ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.
    ไม่มีข้อใดถูก
2. เมื่อใช้งานเครื่องวิทยุในโหมดเสียงพูด หน้าจอแสดงผลของเครื่องวิทยุใดต่อไปนี้ที่แสดงถึงความถี่ต่ำสุดที่สามารถใช้งานได้ในโหมด LSB ที่ทำให้สัญญาณที่ส่งนั้นอยู่ในช่วงคลื่นความถี่ (band) นั้นพอดี
    แสดงความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge) นั้นพอดี
    แสดงความถี่ 300 Hz เหนือกว่าความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge)
    แสดงความถี่ 1 kHz เหนือกว่าความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge)
    แสดงความถี่ 3 kHz เหนือกว่าความถี่ขอบล่างของช่วงคลื่นความถี่ (lower band edge)
3. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่ โทษของพนักงานวิทยุสมัครเล่นที่ได้รับการพิจารณาให้พ้นจากการเป็นพนักงานวิทยุสมัครเล่นชั่วคราวเป็นเวลา ไม่เกินหนึ่งปี
    ยินยอมให้ผู้อื่นที่ไม่มีใบอนุญาตใช้สถานีวิทยุคมนาคมหรือเครื่องวิทยุคมนาคม
    นำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
    จงใจกระทำให้เกิดการรบกวนต่อการสื่อสารของสถานีวิทยุคมนาคมอื่น
    ไม่ใช้ความถี่วิทยุและกำลังส่งตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
4. ถ้าช่วงความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นถูกกำหนดให้เป็นกิจการรอง ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการใช้งานที่เหมาะสมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ และต้องไม่รบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นไม่สามารถใช้ได้ เพราะจะไปรบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องสนใจสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก
    หากได้รับการรบกวนจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลัก พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถร้องเรียนเกี่ยวกับการรบกวนได้
5. ข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศปัจจุบัน กำหนดให้สัญญาณเรียกขานของสถานีในกิจการวิทยุสมัครเล่นปกติเป็นแบบใด
    ตัวอักษร 1 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
    ตัวอักษร 2 ตัวและตัวเลข 1 ตัว ตามด้วยกลุ่มตัวอักษรยาวไม่เกิน 4 ตัวและตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร
    ในกรณีพิเศษเพื่อการใช้งานชั่วคราว สามารถกำหนดให้กลุ่มอักษรตามมีความยาวเกินกว่า 4ตัวอักษรได้
    ถูกทุกข้อ
6. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึงการแพร่คลื่นความถี่แปลกปลอม (spurious)
    สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ส่งสัญญาณโดยไม่ระบุสัญญาณเรียกขาน
    สัญญาณที่ถูกส่งออกมาเพื่อป้องกันการดักรับสัญญาณจากสถานีที่ไม่ต้องการให้รับสัญญาณนั้น
    สัญญาณแปลกปลอมใดๆ ที่ถูกส่งออกมาแล้วไปรบกวนสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่ได้รับอนุญาต
    สัญญาณที่แผ่เกินออกจากแถบความถี่ที่ใช้งาน (necessary bandwidth) ซึ่งสามารถที่จะลดหรือ ตัดออกไปได้โดยไม่กระทบกับข้อมูลที่ต้องการส่ง
7. ถ้าในตารางกำหนดคลื่นความถี่ตามข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการหลัก ประเทศไทยโดยหน่วยงานกำกับดูแลสามารถกำหนดให้กิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นกิจการรองหรือไม่กำหนดให้มีกิจการวิทยุสมัครเล่นในความถี่นั้นได้หรือไม่
    ไม่ได้ เพราะประเทศไทยต้องกำหนดตารางกำหนดคลื่นความถี่ให้เป็นไปตามตารางกำหนดคลื่นความถี่ของข้อบังคับวิทยุระหว่างประเทศ
    ได้ เพราะการบริหารจัดการและการกำกับดูแลเป็นเอกสิทธิของแต่ละประเทศ สามารถกำหนดได้ตามความเหมาะสม
    ไม่ได้ เพราะกิจการวิทยุสมัครเล่นเป็นสากล ต้องเหมือนกันในทุกประเทศ
    ผิดทุกข้อ
8. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับพนักงานวิทยุสมัครเล่นจากประเทศที่มีข้อตกลงต่างตอบแทนเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่นกับประเทศไทยที่มีความประสงค์จะมาใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถนำเครื่องวิทยุมาจากต่างประเทศ เพื่อใช้งานในประเทศไทยได้ทันที
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศ สามารถใช้งานความถี่ได้เท่ากับที่ได้รับอนุญาตในประเทศของตนเอง เมื่อใช้งานในประเทศไทย
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นจากต่างประเทศที่มีความประสงค์จะใช้งานความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย จะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศไทย โดยการยื่นขอเทียบประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่น
    ไม่มีข้อใดถูก
9. ข้อใดคือคำจำกัดความของโทรมาตร (telemetry)
    การส่งสัญญาณแบบทางเดียวที่มีข้อมูลที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือวัดค่าจากสถานีปลายทาง
    การส่งสัญญาณแบบสองทางด้วยวิทยุโทรศัพท์ที่อยู่ไกลเกินกว่า 500 เมตร
    การส่งสัญญาณข้อมูลแบบสองทางด้วยช่องความถี่เดียว
    การส่งสัญญาณแบบทางเดียวที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ปลายทาง
10. ถ้าช่วงความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่นถูกกำหนดให้เป็นกิจการหลักร่วมกัน ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงการใช้งานที่เหมาะสมของพนักงานวิทยุสมัครเล่น
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ โดยไม่ต้องสนใจสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นสามารถใช้ได้ และต้องไม่รบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
    พนักงานวิทยุสมัครเล่นไม่สามารถใช้ได้ เพราะจะไปรบกวนกับสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน
    หากได้รับการรบกวนจากสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการอื่นที่จัดอยู่ในกิจการหลักร่วมกัน พนักงานวิทยุสมัครเล่นควรเพิ่มกำลังส่งให้สูงขึ้น
ให้ตรวจสอบชื่อนามสกุลว่ากรอกครบหรือไหม่
พร้อมกับตรวจข้อสอบว่าเลือกทำครบทุกข้อหรือไม่ ไม่ครบไม่ตรวจนะครับ
นำแบบทดสอบไปติดที่เว็บของคุณ ครับ

EDUCATION RESEARCH | หน้าแรกข้อสอบ | เข้าระบบ | สมัครสมาชิก | สร้างข้อสอบ | แชร์ข้อสอบ
แนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย | TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS